เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้เจริญศีล สมาธิ และปัญญาเหล่านี้ไว้ดีแล้ว
จึงล่วงพ้นบ่วงมาร รุ่งเรืองดุจดวงอาทิตย์ ฉะนั้น
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
มารเธยยสูตรที่ 10 จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. มูลสูตร 2. ธาตุสูตร
3. ปฐมเวทนาสูตร 4. ทุติยเวทนาสูตร
5. ปฐมเอสนาสูตร 6. ทุติยเอสนาสูตร
7. ปฐมอาสวสูตร 8. ทุติยอาสวสูตร
9. ตัณหาสูตร 10. มารเธยยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :414 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 1. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
2. ทุติยวรรค
หมวดที่ 2
1. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร1
ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ
[60] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ2 3 ประการนี้
บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน
2. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
3. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ผู้หวังประโยชน์สุข ควรฝึกฝนบำเพ็ญบุญนี้เท่านั้น
ที่ให้ผลเลิศติดต่อกันไป มีสุขเป็นกำไร

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา. 11/305/193-196, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/36/294-295
2 บุญกิริยาวัตถุ มาจากบุญกิริยา + วัตถุ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (1) บุญกิริยา หมายถึงการตั้งใจ
บำเพ็ญบุญ (2) วัตถุ หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่าง ๆ ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ จึงหมายถึงการ
บำเพ็ญบุญอันเป็นที่ตั้งหรือเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/36/256-257, ขุ.อิติ.อ. 60/232,
องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/36/292-293)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :415 }